RSS
Facebook
Twitter

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วิธี ใช้งาน โปรแกรม Camtasia Studio บันทึกภาพ หน้าจอ

เริ่มเข้าสู่โปรแกรมค่ะ


หน้าต่างแรก..เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมา ให้เลือก Start a new project by Recoding the screen


Region of the screen = เลือกบันทึกเฉพาะจุดใดจุดหนึ่ง..
Specific Window = เลือกบันทึกส่วนใดส่วนหนึ่งของหน้าต่าง..
Entire Screen = เลือกบันทึกทั้งหน้าจอ..


อธิบายด้วยภาพเลยนะค่ะ


เลือกบันทึกเสียงจากอุปกรณ์เสียงค่ะ


เลือกไมโครโฟน หรืออื่นๆ ถ้ามี


1. คลิกปุ่มสีแดงหรือกด  F9 เพื่อเริ่มบันทึก
2. คลิกปุ่มสีน้ำเงินหรือกด F10 เพื่อหยุดการบันทึก
3. ระงับความเร็วของจอระหว่างบันทึก


เข้าสู่หน้าต่าง Camtasia Recorder
หน้านี้สามารถคลิกซ่อนไว้ได้ค่ะ เพื่อไม่ให้เกะกะหน้าจอ คลิ๊กย่อพับล


เมื่อกด F10 โปรแกรมจะรายงายผลออกมา


เลือกที่ save เพื่อทำการบันทึก


ตั้งชื่อ ของไฟล์ ตามความต้องการ


เลือก Edit My Record ตามรูป


สามารถใส่ Effect (ลูกเล่นเพิ่มเติม) ได้ที่เมนู Edit ของ Task List

ถ้ามีงานหลายชิ้น แล้วต้องการดูงาน สามารถคลิ๊กเม้าซ้ายที่ไฟล์ (ในช่อง Clipbin) ค้างเอาไว้ แล้วลากไปใส่ตัว Player ได้เลย

จากนั้น คลิ๊กที่ปุ่ม Play เพื่อดูงานที่ต้องการ


ปรับเสร็จเรียบร้อยแล้ว คลิ๊กตามภาพ เพื่อบันทึกงาน


หากไม่ต้องการให้หน้าต่างนี้แสดงขึ้นมาอีก ให้ติ๊กเครื่องหมายถูกที่ช่อง Do not show the welcome page again ออก แล้ว Next ได้เลย


เลือกประเภทไฟล์ ที่ต้องการบันทึก แล้วกด Next


กำหนดค่าตามต้องการ จากในรูปจะมี
-เลือกประเภทสี
-เลือกเฟรม
-เลือกให้เล่น วนซ้ำ
-เลือกเวลา ให้เล่นกี่วินาที
จากนั้น กด Next


เลือกได้ตามรูป ว่าจะกำหนดขนาดเอง หรือ จะเอาขนาดตามที่โปรแกมกำหนดมาให้
และยังสามารถเลือกสีพื้นหลังได้อีกด้วย



สามารถเลือกได้ ว่าจะทำเป็นสื่อการสอน หรือ จะทำเพื่อไปใช้บน โฮมเพจส่วนตัว


เปลี่ยนชื่อ คำแนะนำ ชิ้นงาน ได้ตามภาพ


กำหนดชื่อ และที่เก็บไฟล์งาน ตามแต่ต้องการ


รอสักครู่ โปรแกรมกำลังสร้าง ชิ้นงาน และบันทึกชิ้นงาน ตามที่ตั้งค่าไว้


รายละเอียดของไฟล์ ที่สร้างเสร็จ และถูกบันทึกเก็บไว้แล้ว

กด Finish เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอน

วิธีเขียน file เพลง mp3 ลงแผ่น CD



กรณี file เพลง mp3 ธรรมดา ใช้ Windows Explorer ตรง My Computer Copy ได้เลย

วิธีเขียน file ทั่วๆไป รวมถึงเพลง mp3 ลงแผ่น CD
1. ใส่แผ่น CD-R หรือแผ่น CD-RW ในเครื่องเขียนซีดี
2. คลิกเลือกไฟล์ หรือโฟลเดอร์ที่ต้องเขียน คลิกขวาาเลือก Send To
3. คลิกเลือก Drive ที่เป็น CD-Writer
4. จากนั้นโปรแกรมจะทำการเก็บข้อมูลที่ต้องการเขียนลงใน พื้นที่ชั่วคราวใน harddisk ก่อน
5. คลิกเลือกไฟล์อื่น ๆ เพิ่มเติมได้ตามต้องการ
6. โปรแกรมจะแสดงข้อความบน Taskbar ด้านขวา เพื่อบอกให้เราคลิกเพื่อเข้าไปยังหน้าต่าง สำหรับการเขียนซีดี
7. เราสามารถเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม หรือลบไฟล์ บางไฟล์ ก่อนเริ่มการเขียนซีดี ได้
8. เมื่อพร้อมให้คลิกเลือกเมนูด้านซ้าย Write these files to CD
9. จะปรากฏหน้าต่าง Wizard ช่วยในการบันทึก ดังภาพประกอบด้านบน
10. ใส่ชื่อแผ่น CD หรือคลิก Next
11. โปรแกรมจะเริ่มเขียนข้อมูลลงแผ่น CD ให้ตามต้องการ
วิธัใช้ โปรแกรม PhotoWatermark Professional สร้างลายน้ำ

หลังจากทำการติดตั้งโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมี icon ของโปรแกรม แสดงขึ้นมาที่หน้าจอ desktop ของคอมพิวเตอร์


เปิดโปรแกรมขึ้นมา จะได้รูปร่างหน้าตา อย่างนี้

ทำการเปิดไฟล์ภาพขึ้นมา และเลือกปรับตามดังรูป

ทำการปรับแต่ง ตามขั้นตอนดังรูป ได้ตามความพอใจ











จากนั้น ทุกรูปที่เราทำ จะมีลายน้ำของเรา ปรากฏขึ้นมา

วิธีใช้ โปรแกรม สร้างสกรีนเซฟเวอร์แบบมือ อาชีพกับ Screensaver Factory 4

โหลดโปรแกรมได้จาก http://www.blumentals.net/ 

        Screensaver Factory 4 โปรแกรมสำหรับสร้างสกรีนเซฟเวอร์จากรูปภาพและไฟล์มัลติมีเดีย เช่น แฟลช และวิดีโอ สามารถสร้างได้ทั้งแบบเป็นไฟล์สกรีนเซฟเวอร์ (.scr), แบบไฟล์ติดตั้ง (.exe) เช่นไฟล์ติดตั้งโปรแกรมทั่วไป หรือแม้กระทั่งแบบ Presentation ซึ่งเป็นไฟล์ .exe ที่สามารถดับเบิ้ลคลิกใช้งานได้ทันที รวมทั้งยังสามารถสร้างเป็นสกรีนเซฟเวอร์ในเชิงธุรกิจ หรือซอฟท์แวร์ที่ต้องจ่ายเงินเพื่อลงทะเบียนในการใช้งาน

        การทำงานของ Screensaver Factory 4 แม้รายละเอียดจะค่อนข้างเยอะไปสักนิด แต่ก็แบ่งการทำงานเป็นขั้นตอนด้วยฟีเจอร์ต่างๆที่ง่ายแก่การเข้าใจในการใช้ งาน
และเราไม่จำเป็นต้องใช้งานให้ครบในทุกฟีเจอร์ของโปรแกรมที่ให้มา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่เราต้องการเป็นสำคัญ เช่นในฟีเจอร์แชร์แวร์ หากเป็นการสร้างสกรีนเซฟเวอร์เพื่อแจกจ่ายให้กับเพื่อนฝูง เราก็ไม่จำเป็นต้องใช้งานในฟีเจอร์นี้ และขอเชิญท่านพบกับวิธีใช้งานเบื้องต้นของ Screensaver Factory 4 ฉบับมั่วแบบฟูล ได้ ณ บัดนาว

วิธีใช้งานเบื้องต้น Screensaver Factory 4
เวอร์ชั่นทดสอบ: Screensaver Factory 4.4 Enterprise Edition

        ถ้าจะเปรียบให้เข้าใจกันได้ง่ายขึ้น ก็ให้คิดว่าเรากำลังจะทำการสร้างซอฟท์แวร์ขึ้นมาตัวหนึ่ง โดยโปรแกรมหรือซอฟท์แวร์ตัวนั้นก็คือสกรีนเซฟเวอร์นั่นเอง เราสามารถสร้างสกรีนเซฟเวอร์ให้เป็นโปรแกรมหรือซอฟท์แวร์ในแบบแชร์แวร์ได้ โดยการกำหนดระยะเวลาุในการใช้งาน และต้องจ่ายเงินเพื่อลงทะเบียนหากต้องการใช้งานต่อไป หรือเพื่อให้แคร็กเกอร์มีงานทำเพิ่มขึ้น หากสกรีนเซฟเวอร์ของท่านเกิดดังติดตลาดขึ้นมาแบบไม่คาด


Media
1. คลิก Add หรือ Add Folder เพื่อเลือกรูปภาพ, วิดีโอ หรือไฟล์แฟลช
หมายเหตุ: จากตัวอย่างเป็นการทำสกรีนเซฟเวอร์จากรูปภาพ


2. คลิกที่รูปภาพ > Properties เพื่อปรับแต่งรายละเอียดต่างๆ

• Label (ใส่ข้อความให้กับรูปภาพ)
พิมพ์ข้อความตามที่ต้องการ > เลือกตำแหน่งที่ต้องการวางข้อความ ที่ Position และ X-Y
และเลือกฟอนต์, สีของฟอนต์ที่ Font, Font color, Background
หากต้องการใส่ข้อความดังกล่าวให้เหมือนกันทุกรูปภาพ คลิกที่ Apply To All > Title Text > OK
คลิกที่ Full Preview เพื่อดูตัวอย่างของสกรีนเซฟเวอร์ที่กำลังสร้าง

• Size & Position (กำหนดขนาดของภาพ)
เลือกขนาดหรือ size ของภาพที่ต้องการแสดงให้เหมาะสมกับหน้าจอ
หากต้องการกำหนดขนาดของภาพให้เหมือนกันทุกรูปภาพ คลิกที่ Apply To All > Size and Position > OK
คลิกที่ Full Preview เพื่อดูตัวอย่างของสกรีนเซฟเวอร์ที่กำลังสร้าง

• Image Duration
กำหนดระยะเวลาในการเปลี่ยนภาพจากภาพหนึ่งไปอีกภาพหนึ่ง ค่าปกติจะอยู่ที่ 5 วินาที
หากต้องการกำหนดระยะเวลาให้เหมือนกันทุกรูปภาพ คลิกที่ Apply To All > Image Duration > OK

• Masking Effect
การใส่ขอบเบลอแบบต่างๆให้กับภาพ
หากต้องการใส่ขอบเบลอให้เหมือนกันทุกรูปภาพ คลิกที่ Apply To All > Image Mask > OK

• Image Adjustments
กำหนดให้ภาพแสดงแบบต่างๆเช่น กลับหัว (Vertical Flip) หรือแบบขาวดำ (Grayscale) เป็นต้น
หากต้องการให้ภาพแสดงเหมือนกันทุกรูปภาพ คลิกที่ Apply To All > Image Adjustments > OK

• Image Entering Sound
ใส่คลิปเสียงสั้นๆให้กับภาพ โดยไม่เกี่ยวเพลงหลัก หรือ Background Music
หากต้องการใส่คลิปเสียงให้เหมือนกันทุกรูปภาพ คลิกที่ Apply To All > Image Adjustments > OK

• Image Effects
เลือกใส่ Effects ให้กับภาพ (หากไม่ใช้คำสั่งในฟีเจอร์นี้ ตัวโปรแกรมจะใส่ Effects ให้เองแบบอัตโนมัติ)
และหากใช้คำสั่งในฟีเจอร์นี้และต้องการใส่ Effects ให้เหมือนกันทุกรูปภาพ
คลิกที่ Apply To All > Image Effects > OK


Music
คลิกที่ Add > เลือกเพลงประกอบสกรีนเซฟเวอร์ โดยเพลงนี้จะเป็นเพลงหลัก หรือ Background Music
ซึ่งทำงานแยกกันกับการใส่คลิปเสียง Image Entering Sound (Media > Properties > Image > Image Entering Sound)


Background
เหมาะสำหรับกรณีไฟล์ที่นำมาสร้างสกรีนเซฟเวอร์มีขนาดเล็ก หรือเมื่อขยายภาพแล้วดูไม่สวยงาม จึงต้องใช้ Background เข้าช่วยเสริมเพื่อให้ได้ภาพเติมเต็มแบบสวยงาม
อีกทั้งยังเป็นฟีเจอร์ที่เหมาะสำหรับการสร้างสกรีนเซริฟเวอร์โลโก้ของหน่วย งาน หรือองค์กรต่างๆ อีกด้วย โดยเลือกสีของแบ็คกราวด์ที่ Background Colour และเลือกรูปภาพที่ Background Image และจากบทความนี้เป็นการทำสกรีนเซฟเวอร์จาก รูปภาพในแบบฟูลสกรีน จึงข้ามการใช้งานในฟีเจอร์นี้ไป

หมายเหตุ: ฟีเจอร์นี้จะแสดงผลก็ต่อเมื่อใช้กับรูปภาพขนาดเล็กในการทำสกรีน เซฟเวอร์
และกำนดการแสดงภาพเป็นแบบ do not change size (Media > Properties > Size & Position > do not change size)


Information
Genaral Information ใส่รายละเอียดหรือความเป็นเจ้าของให้กับสกรีนเซฟเวอร์ที่สร้าง Screensaver Title ใส่ชื่อของสกรีนเซฟเวอร์, ใส่ชื่อผู้ผลิตที่ Author & Copyright และใส่ url ของเว็บไซต์ (ถ้ามี) ที่ Author's Website

สามารถใส่รายละเอียดอื่นๆที่ต้องการได้อีก ที่ Redme Text รวมถึงรายละเอียดหรือข้อตกลงในการใช้งานสกรีนเซฟเวอร์ที่ License Agreement


Options
คือส่วนที่จะแสดงและอนุญาตให้ผู้ใช้ปรับแต่งการใช้งานสกรีนเซฟเวอร์ของเรา ซึ่งจะเหมือนกับการปรับแต่งใน options ของโปรแกรมต่างๆที่เราใช้งานอยู่เป็นประจำ

ซึ่งแท็บต่างๆไม่ว่าจะเป็น General, Items Positions, Image Effects, Image Adjustments และ Sound จะคล้ายๆเป็นการปรับแต่งซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ของการปรับแต่งใน Media > Properties ที่ผ่านมาข้างต้น โดยมีแท็บที่เป็นคำสั่งเพิ่มเติมมาก็คือ Behavior จะเป็นการตั้งวิธีการปิดหรือการออกจากสกรีนเซฟเวอร์ และแท็บที่สำคัญที่สุดจะอยู่ที่ User Interface ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดให้ซ่อนหรือแสดงในทุกแท็บที่กล่าวมา ซึ่งหมายถึงผู้ใช้สกรีนเซฟเวอร์จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าใดๆของสกรีนเซฟเวอร์ได้ตามแท็บที่เราได้สั่งซ่อนไว้


Special
Preview Image

การตั้งค่าภาพพรีวิว หรือภาพตัวอย่างของสกรีนเซฟเวอร์ โดยเราสามารถเลือกภาพจากแหล่งอื่นซึ่งไม่ใช่ภาพที่อยู่ในสกีนเซฟเวอร์ที่เราสร้างได้ และหากไม่มีการเลือกตัวโปรแกรมจะเลือกภาพๆแรกของสกรีนเซฟเวอร์เป็นภาพพรีวิวแบบอัตโนมัติ

Screensaver Icon
และหากไม่พอใจในไอคอนของตัวโปรแกรมที่ให้มา สามารถใช้ฟีเจอร์นี้เลือกไอคอน (.ico) ของสกรีนเซฟเวอร์ตามที่เราต้องการ


Promotion
การโปรโมทหรือประชาสัมพันธ์ในแบบต่างๆที่สามารถใส่เข้าไปในสกรีนเซฟเวอร์ได้ หรือจะเรียกกันแบบเข้าใจง่ายๆก็คือการยัดเยียดโฆษณานั่นเอง

Web Promotion
การพาผู้ใช้ไปสู่เว็บที่เรากำหนด ทันทีที่มีการปิดการใช้งานสกรีนเซฟเวอร์

Exit Banner
การแสดงแบนเนอร์ เมื่อมีการปิดการใช้งานสกรีนเซฟเวอร์

Setting Windows Banner และ Image Logo
การแสดงแบนเนอร์ หรือโลโก้บนภาพของสกรีนเซฟเวอร์


Shareware
ใส่เครื่องหมายที่ Create shareware screen saver เพื่อสร้างให้เป็นสกรีนเซฟเวอร์ในแบบแชร์แวร์และตามที่กล่าวข้างต้น หากเป็นการทำสกรีนเซฟเวอร์เพื่อแจกจ่ายให้กับเพื่อนฝูง ควรข้ามฟีเจอร์นี้ไป หากยังต้องการคบกับเพื่อนคนนั้นต่อไป... 

แท็บ Registration กำหนดคีย์หรือหมายเลขในการลงทะเบียน ที่ Registration Key ใส่ url ของเว็บเพจสำหรับการลงทะเบียน ที่ Purchase Link
ยัดเยียดป็อปอัพข้อความเตือนให้ลงทะเบียน ที่ Nag-Screen เมื่อมีการปิดการใช้งานสกรีนเซฟเวอร์รวมทั้งที่ Nag-Banner ยังสามารถยัดแบนเนอร์หรือป็อปอัพเข้าไปได้อีก เอาให้สาสมใจ และกำหนดระยะเวลาการใช้งานของการใช้งานสกรีนเซฟเวอร์ ที่ Limitations ซึ่งเมื่อครบระยะเวลาการใช้งาน ผู้ใช้ต้องลงทะเบียนจึงจะสามารถใช้งานต่อไปได้


ขั้นตอนสุดท้าย - Create
เราสามารถพรีวิวสกรีนเซฟเวอร์ที่สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้วอีกครั้งหนึ่งที่แท็บ Preview Screensaver และเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตสกรีนเซฟเวอร์ใน 4 รูปแบบ


Create Screensaver
คลิกที่ Browse เพื่อเลือกที่เก็บไฟล์ > เลือก Create Screensaver หรือ Create Presentation


Create Screensaver Setup Package
คลิกที่ Browse เพื่อเลือกที่เก็บไฟล์ > เลือก Create Setup หรือ Create Setup CD


ผลงานที่ได้ก็จะออกมาเช่นนี้แล   ขี้เหร่เน๊ะ .. Enjoy..!!อ