RSS
Facebook
Twitter

วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สร้างสื่อการเรียนการสอน และ งานพรีเซนเทชั่นด้วย camtasia 6 
สร้างสื่อการสอนและงานด้วย camtasia 6 (ตอนที่ 1 : มีอะไรใหม่)

       Camtasia Studio ถือโปรแกรมจับหน้าจอเคลื่อนไหว เพื่อทำสื่อการเรียนการสอน ที่อาจเรียกได้ว่า มีผู้รู้จัก และคุ้นเคยมากที่สุดในยุคนี้ก็ว่าได้ เพื่อนชาวบล็อกหลายคน คงเคยใช้กันมาบ้าง โปรแกรมนี้ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตลอด และนี่คือเวอร์ชั่น Camtasia Studio 6.0

 

      สำหรับรูปร่างหน้าตาหลัก ๆ มองดูไม่มีอะไรเปลี่ยนไปนัก แต่เขาว่าความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือ การปรับระบบในส่วนในการตัดต่อภาพเคลื่อนไหวที่จับภาพ
มาแล้ว ให้ใช้งานสะดวก รวดเร็วขึ้น โดยผู้พัฒนาบอกว่าเร็วขึ้นถึง 30% สำหรับการทำงาน แก้ไข ปรับปรุง เพิ่มเติม แม้แต่้สร้างโปรเจ็คท์ขนาดใหญ่ก็ตาม ซึ่งเท่าที่ทดสอบดูในขั้นต้น ผมรู้สึกว่าทำได้ดีครับ ดีกว่า เวอร์ชั่นที่ 4-5 ที่ผ่านมาอย่างมาก ลองดูแล้วว่าสะดวกกว่าตามที่กล่าวอ้างจริง ๆ

      ในเวอร์ชั่นก่อน ๆ การแก้ไข ปรับปรุง ไฟล์ที่จับภาพมาแล้ว ถือได้ว่าทำงานไม่ค่อยสะดวก และค่อนข้างมีข้อจำกัดหลายอย่างด้วย แต่เวอร์ชั่นนี้ ใช้ได้เลย มีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลายอย่างที่ดีขึ้น

 

      เวอร์ชั่นนี้สามารถกำหนด Shortcut หรือคีย์ลัด ให้ผู้ใช้งานสะดวกขึ้น เช่น กดปุ่ม S เพียงครั้งเดียว ณ จุดของวิดีโอ เท่ากับการตัดวิดีโอนั้นออกจากกันเป็นสองส่วน (S=Split) ตรงนี้สะดวกง่ายดาย เหมือนใช้โปรแกรม Sony Vegas ในการตัดต่อเลย

กดปุ่ม T (Transition) ก็สามารถตัดคลิป และเพิ่ม Transition ให้กับวิดีโอได้เลย
กดปุ่ม Z (Zoom) เพื่อการกำหนดการซูมเข้าออกเป็นต้น!
Shortcut ต่าง ๆ ที่ว่าสามารถกำหนดเปลี่ยนแปลงได้ด้วยครับ แต่ผมว่าไม่จำเป็นเพราะมันคือมาตรฐานที่ดีอยู่แล้วสำหรับการจดจำ

      เวอร์ชั่นนี้ มีระบบการแยกส่วนระหว่างเสียงและวิดีโอที่บันทึกมา ทำให้สามารถแก้ไขปรับปรุงได้อิสระขึ้น เช่น การพากย์เสียงเพื่อแก้ไขจุดที่ผิด การนำภาพอื่นๆ เข้ามารวม ฯลฯ มีการแก้ไขในส่วน Recoder หรือการบันทึกหน้าจอ ให้ใช้ง่าย และสะดวกขึ้นอีกด้วย

 

      นอกจากนี้ ก็มีการปรับเปลี่ยนการ แปลงไฟล์ เป็นรูปแบบต่างๆ ทำได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะมีการเปลี่ยนแปลงในการทำงานกับ Flash เพื่อ net คือ ตัดการเปลี่ยนแปลงเป็นไฟล์ .flv (Flash Video) ออกไปเป็น เปลี่ยนไปเป็น .mp4 แทน ซึ่ง Flash Player 10 เวอร์ชั่นล่าสุดสามารถใช้งานได้ครับ

      ตรงจุดนี้ ผมว่าปัญหาสำคัญของ Camtasia สำหรับการสร้างสื่อการสอนในรูปแบบไฟล์ที่ใช้ Flash เป็นตัว Play นั้นคือ ขนาดของตัว Control หรือหน้าต่างสั่ง Play และ
ควบคุมการเคลื่อนที่ของวิดีโอที่สร้างขึ้น

      เวอร์ชั่นก่อน มีปัญหามากครับ คือเมื่อสร้างแล้ว ใหญ่ถึง 900 KB เกือบ 1 MB เลย นั่นหมายถึงว่า ใครอยากจะสอนผ่านเน็ต ผู้เรียนต้องเสียเวลาดาวน์โหลดไอ้ตัว Play นี่
มาในหน้าบราวเซอร์ นี่ก็เกือบ 1 MB แล้ว ยังไม่รวมไฟล์วิดีโอที่สร้างขึ้น ทำให้เสียเวลามาก

      นั่นคือเหตุผลที่เมื่อใช้ camtasia สร้างสื่อการสอน ผมจะเลี่ยงไปสร้างเป็นไฟล์ .wmv ที่มีขนาดเล็กกว่ามาก แต่อาจมีผล กับคนที่ไม่ได้ใช้ Internet Explorer เป็นบราวเซอร์หลัก รวมทั้งผู้ใช้เครื่อง MAC อาจดูไม่ค่อยจะได้ ซึ่งไม่เหมือนทำเป็น Flash (.swf และ .flv) ซึ่งทำงานได้บนทุกบราวเซอร์ และระบบปฏิบัติการ แต่สำหรับเวอร์ชันนี้ แก้ไขขนาด controller ให้มีขนาดเล็กลงประมาณ 400 KB ซึ่งถือว่าทำได้ดีขึ้น การเปลี่ยนให้ export ไฟล์ไปเป็น .mp4 ก็ช่วยทำให้ผู้ดาวน์โหลดไปเปิดที่เครื่องอื่น
ได้ง่ายขึ้นโดยใช้โปรแกรมเล่นไฟล์วิดีโอรุ่นหลัง ๆ ได้เกือบทุกตัว

      คุณภาพของภาพถือได้ว่า อยู่ในขั้นดีทีเดียว ขนาดก็เล็กใช้ได้ ผมลองทดสอบดูแล้ว อื่นๆ ก็มีที่หน้าสนใจคือการ support ไฟล์ .mov ในการนำเข้ามาร่วมใน project
และสามารถแก้ไขไฟล์ได้ เป็นต้น

      อ่านรายละเอียดอื่นๆ ได้จากเว็บไซต์เจ้าของโปรแกรม ตามลิงค์ http://www.techsmith.com/camtasia.asp 

      ใครยังไม่เคยใช้โปรแกรมนี้ ติดตามเอนทรีต่อๆไปนะครับ ผมจะแนะนำการใช้งานพื้นฐานทั้งหมดให้ทราบกันครับ
      โปรแกรมนี้มีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่ต้องการทำสื่อการเรียนการสอน รวมไปถึง ประยุกต์ใช้งานในเชิงธุรกิจได้ดีด้วย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น